KSC ค่ากำลังอัด “ของคอนกรีต” เรื่องที่เราควรเรียนรู้

KSC ค่ากำลังอัด “ของคอนกรีต” เรื่องที่เราควรเรียนรู้

Default
ในการทำงานก่อสร้างนั้นเราคงไม่มีใครไม่รู้จักกับคอนกรีตอย่างแน่นอน  เพราะเป็นหนึ่งในวัสดุที่สำคัญอย่างมาก ซึ่งปัจจุบันนั้นคอนกรีตนั้นมีให้เราได้เลือกใช้งานถึง 2 แบบนั้นคือ คอนกรีตแบบผสมมือ (ที่เราใช้กันเมื่อก่อน) และ คอนกรีตผสมเสร็จที่เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่จะช่วยให้การก่อสร้างนั้นง่ายขึ้น และ ทำให้งานก่อสร้างนั้นเสร็จได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น แต่ว่าในบทความนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องของ คอนกรีตสำเร็จ  อีกหนึ่งนัวตกรรมที่จะช่วยให้งานคอนกรีตของเรานั้นง่ายขึ้นนะครับ   คอนกรีตสำเร็จคืออะไร   คอนกรีตสำเร็จนั้นแปลงความหมายได้ตรงตามชื่อเลยครับ คือคอนกรีตที่มีการผสมมาเสร็จแล้ว จากศูนย์การบริการที่ออกแบบมาหใผสม คอนกรีตให้เสร็จก่อน จัดส่ง โดยจะมีการด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ทำให้การผสมนั้น เป็นไปอย่างมีความถูกต้องทำให้การผสมในแต่ละครั้งนั้นจะทำให้การผสมนั้นเหมือนกันทุกครั้ง ทำให้ไม่มีการผสมผิดสูตร หรือ ผสมแล้ววัสดุที่ใช้ในแต่ละครั้งไม่เท่ากัน ลืมปัญหาเหล่านี้ไปได้เลยนะครับ เพราะว่าจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน   ค่ากำลังอัด (สเตรง) คืออะไร   เชื่อว่ามีคนนั้นเคยโทรไปสั่งคอนกรีตเพื่อสอบถามราคาคอนกรีตผสมเสร็จ ว่าราคาเท่าไหร่ จะได้สั่งมาถูกต้อง แต่กลับจะต้องสะดุดเพราะว่าจะต้องเคยเจอกับคำถามว่า “ค่าสตเรง “คือเท่าไหร่ พอถึงตรงนี้หลายคนนั้นอาจจะงงนะครับว่าค่าสเตรงนั้นคืออะไร เดี๋ยวเรามารู้จักกันช้า ๆ กับ “ค่ากำลังอัดของคอนกรีต”นะครับ  ค่ากำลังอัด ของคอนกรีต หรือ สเตรง นั้นคือ ค่ากำลังอัดที่จะถูกออกแบบมาให้ใช้ในงานแต่ละประเภทที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างง่าย ๆ อย่างเช่น การเทพื้นคอนกรีตที่ลาดจอดรถนั้นจะต้องใช้ค่ากำลังอัดที่มากกว่า การเทพื้นคอนกรีตภายในบ้านใช่ไหมครับ ? เพราะว่าที่ลานจอดรถนั้นมีการรับน้ำหนักที่เยอะ ซึ่งการรับน้ำหนักตรงนั้น นั้นละครับคือ “ค่ากำลังอัด” โดยค่ากำลังอัดจะมีหน่วยวัด KSC .หรือ กิโลกรัมต่อ ตารางเซนติเมตร   ค่ากำลังอัดพื้นที่งาน ควรใช้เท่าใด   มาถึงตรงนี้แล้วหลายคนนั้นอาจจะงงว่าแล้วในงานก่อสร้างของเราที่เป็นงานเล็ก ๆ อยากลงมือทำเองจะต้องเลือกค่าสเตรงที่เท่าไหร่ เพื่อที่จะใช้งานให้เหมาะ โดยในการยกตัวอย่างนี้เราขอนำข้อมูลจากภาคกลางที่ไม่ได้อยู่ใกล้ทะเล และไม่ได้มีปัญหาดินเค็มายกตัวอย่างนะครับ   ค่ากำลังอัด นั้นในงานคอนกรีตนั้นจะแบ่งออกเป็นการงานอยู่ 4 ประเภทหลัก ๆ ในการเลือกใช้ค่ากำลังอัดที่แตกต่างกันโดยแต่ละหน้างานจะใช้ค่ากำลังอัดที่แตกต่างกันไป  ประเภทที่ 1 : ไม่มีกำลังอัด เป็นคอนกรีตหยาบที่ไม่จำเป็นต้องมีกำลังอัดก็ได้ ซึ่งคอนกรีตประเภทนี้จะใช้ในงานเทก้นของหลุมเสาเท่านั้น ประเภทที่ 2 : 180 KSC. – 210 KSC .  งานประเภทที่ 2 นั้นจะเลือกใช้งานกับงานคอนกรีตภายในบ้าน หรือ นอกบ้านที่ไม่ได้ใช้งานหนัก เช่นงานนอกบ้านที่ไม่มีรถขับผ่านเป็นต้น  ประเภทที่ 3 : 240 KSC. – 280 KSC. งานประเภทที่ 3 นี้เนื่องจากมีกำลังอัดที่สูงขึ้นดังนั้นจึงจะเหมาะกับการใช้งานที่มีการรับน้ำหนักที่มากขึ้นเช่น พื้นโรงจอดรถ การเทพื้นถนน หรือ งานเทเสาเป็นต้น ประเภทที่ 4 : 300 KSC. – 400 KSC . คอนกรีตที่กำลังอัดประเภทนี้นั้นจะมีการรับน้ำหนักที่หนักมากอย่างเช่น เครื่องจักร โรงสี ยิ่งถ้าหากมีเครื่องจักรที่หนักมาก็ควรเพิ่มกำลังอัดเข้าไปด้วยเช่นกัน   เป็นอย่างไงกันบ้างครับน่าจะเข้าใจในเรื่องของ “ปูนสำเร็จ” กันมากขึ้นแล้วใช่ไหมครับ ? ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการเลือกซื้อปูนสำเร็จนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายด้วยเช่นกัน ดังนั้นถ้าหากไม่มีความรู้ควรปรึกษาผู้รู้ และ ผู้เชี่ยวชาญก่อนนะครับ
Read More